คำถามนี้ไม่ใช่คำถามที่แปลกเมื่อได้ยินได้ฟังหรอก…

ผู้ชายหลายคนมักจะตั้งคำถามแบบนี้เสมอๆ
ยิ่งเมื่อเห็นผู้หญิงที่ตัวเองชอบไปเลือกคบกับไอ้หนุ่มที่ท่าทางเจ้าชู้
และไม่น่าไว้วางใจสักนิดเดียว แทนที่จะเลือกคบกับตัวเขา..

ถึงแม้ว่าผู้ชายทั้งหลายละทิ้งอคติ..
ที่มองว่าตัวเองดีกว่าชาวบ้านเสมอไป แล้วก็ตาม
แต่คำถามนี้ก็ยังคงไม่หายไปจากโลกง่ายๆ..
เพราะว่าความเข้าใจในความ “ดี”
ที่ผู้หญิงและผู้ชายมองนั้นแตกต่างกันไป…

ผู้ชายมักจะมองว่าผู้ชายที่ดี ที่ผู้หญิงควรจะเลือกคือ
ผู้ชายที่เรียบร้อย ไม่เจ้าชู้ ไม่ยุ่งกับอบายมุข
เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้วที่จะทำให้ผู้หญิงพอใจที่จะเลือกเป็นคู่ครอง

ทว่า.. ผู้ชายมองอะไรที่ตื้นเขินเกินไป ในความเป็นจริงแล้ว
ผู้หญิงทุกคนจะให้คำจำกัดความของคำว่า “ดี” คือ
ผู้ชายที่รักเธอจริง และแสดงออกว่าเธอเป็นคนสำคัญ
มีความเป็นผู้นำ รวมทั้งฉลาดพอที่จะต่อกรกับเธอได้

จะเห็นได้ว่าคำว่า “ดี” ที่ผู้หญิงกับผู้ชายคิดนั้น
แทบจะหาความเกี่ยวข้องกันไม่ได้เลย..
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ทำไมผู้ชายหลายคน
ถึงไม่อาจยอมรับการตัดสินใจเลือกคบกับใครสักคนของผู้หญิงได้
เพราะว่าเธอเลือกผู้ชายที่ไม่ดีในสายตาเขา
แต่เป็นผู้ชายที่ดีในสายตาของเธอ..

ในอีกกรณีหนึ่ง..
ผู้ชายที่ได้ชื่อว่าสมบูรณ์แบบเพียบพร้อมทุกประการก็เจอกับปัญหานี้เช่นกัน
แต่ไม่ใช่เพราะว่าคำว่า “ดี”
หากแต่เป็นเพราะความสมบูรณ์แบบของเขาต่างหาก …
ที่ทำให้ผู้หญิงไม่กล้าเลือกผู้ชายคนนี้มาเป็นคู่ครอง…

ผู้ชายที่เป็นคนดีเกินไปนั้น..
อาจจะทำให้ผู้หญิงอึดอัดทั้งกายและใจในการที่จะอยู่ด้วย
มากกว่าผู้ชายที่มีข้อบกพร่องบ้าง
เพราะว่าผู้หญิงก็รู้ตัวดีอยู่ว่าตัวเองนั้นไม่ใช่คนสมบูรณ์แบบเท่าไหรนัก

ถ้าผู้ชายที่เธอคบด้วยเป็นคนสมบูรณ์แบบเกินไป
ก็จะทำให้เธอขาดความมั่นใจ
และไม่สามารถแสดงตัวตนที่แท้จริงที่มีข้อบกพร่องต่อหน้าเขาได้
เพราะว่าเขาสมบูรณ์แบบเสียจนเธอไม่คิดว่าเขาจะเข้าใจเรื่องบกพร่อง

ในบางครั้งเขายังทำลายความมั่นใจในตัวผู้หญิงได้อย่างไม่รู้ตัว
และสุดท้ายคือ ผู้หญิงกลัวที่จะสูญเสียเขาไปเมื่อเขารู้จักเธอมากพอ…
เมื่อรู้ว่าเธอไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่เขาอยากได้…
ดังนั้นผู้หญิงเลยเลือกที่จะไม่สนใจผู้ชายคนนี้ตั้งแต่ต้นเสียดีกว่า

โดยเนื้อแท้แล้วไม่มีใครอยากได้คู่ครองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนเลวหรอก..
ไม่ว่าจะหญิงหรือชาย
เราทุกคนต่างก็เสาะหาคนดีๆ กันทั้งนั้น
ดังนั้นสิ่งที่จะสามารถผูกมัดอีกฝ่ายหนึ่งไว้ได้คือ..
จงทำตัวเหมือนหนังสือที่มองภายนอกแล้วน่าสนใจ..
เปิดมาอ่านภายในแล้ววางไม่ลง..
แต่อ่านเท่าไรก็ไม่สามารถหาตอนจบได้พบ

…………………………………………………………

ผู้ชายดีๆ (ทำงานเก่ง เรียนเก่ง ขยัน ไม่กินเหล้า
ไม่สูบบุหรี่ ไม่ยุ่งเกี่ยวอบายมุข ไม่เจ้าชู้ Perfect !!!
มักจะเป็นคนดีจริงๆ
แบบว่าดีในเรื่องที่เค้าสนใจ
แต่มักจะด้อยในเรื่องที่เพศตรงข้ามสนใจ
จนอาจจะละเลยหรือหลงลืมการกระทำบางอย่าง…
ที่ควรจะทำกับเพศตรงข้ามไปโดยไม่รู้ตัว

ผู้ชายที่ไม่ค่อยจะดี (กินเหล้า สูบบุหรี่ เจ้าชู้
เรียนพอเอาตัวรอดได้ ทำงานไปวันๆ เจ้าชู้นิดๆ เพลย์บอยหน่อย ๆ )
ส่วนมากมักจะรู้ในสิ่งที่ผู้หญิงต้องการ และดูน่าค้นหาน่าเปิดอ่าน

ถ้าเปรียบเป็นปกหนังสือ
ผู้ชายดีๆ ก็จะเหมือนหนังสือดีๆ ทั่วๆ ไป เช่น หนังสือให้ความรู้
เชิงวิชาการ หรืออะไรเทือกๆ นี้ ออกแบบปกได้ไม่น่าสนใจ
แต่เนื้อหาข้างในแน่นปึ้กเหมาะที่จะไว้ใช้อ้างอิงได้ตลอดเวลา
ไม่ค่อยน่าหยิบมาอ่าน อยากอ่านก็ต่อเมื่อมีเรื่องเดือดร้อน
หรือมีความจำเป็นที่จะต้องอ่านเท่านั้น

ผู้ชายที่ไม่ค่อยจะดีก็เหมือนปกหนังสือ
ที่ออกแบบได้โดดเด่น แปลกแหวกแนว
น่าหยิบมาอ่านจากแผงหนังสือที่มีทั้งหนังสือปกสวยๆ
และไม่สวยเบียดๆกันอยู
ออกแบบปกได้สวย แต่หาสาระอะไรไม่ค่อยจะได้ อ่านเอาสนุก
อ่านเพื่อความบันเทิง แต่เมื่ออ่านจบแล้ว
ก็ยังอยากที่จะหยิบมาอ่านซ้ำอีก

แต่…ผู้ชายที่เลวสุดๆ (อบายมุขทุกอย่าง เอาหมด ค้ายาเสพติด
เจ้าชู้มาก งานการไม่ทำ ขี้เกียจ เรียนไม่ จบซักที่ ฯลฯ)
อย่างนี้ก็คงไม่มีใครเอาเหมือนกัน…

“ไซฟ่อน” รู้ไว้กันจน

Posted: กันยายน 30, 2010 in investment
ป้ายกำกับ:

คอลัมน์ “ก.ล.ต. คู่คิดนักลงทุน” นสพ. กรุงเทพธุรกิจประจำวันที่ 23 กันยายน 2553
โดย จารุพรรณ อินทรรุ่ง สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.

รู้จักกลโกง: เขาไซฟ่อนกันอย่างไร?

หากคุณเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียน วันดีคืนร้ายมีข่าวออกมาว่า ผู้บริหารคนหนึ่งยักย้ายถ่ายเทเงินของบริษัทไปเข้ากระเป๋าตัวเอง คุณจะรู้สึกอย่างไรคะ? หากคุณเห็นว่าโกงได้โกงไป อย่าได้แคร์ ขอแค่มีผลงานดี ทำกำไรให้บริษัทเยอะ ๆ ราคาหุ้นจะได้ขึ้น แถมคุณยังพลอยฟ้าพลอยฝนได้เงินปันผลงาม ๆ ล่ะก็ดิฉันขอให้คุณเปลี่ยนความคิดเถอะค่ะ เพราะจากบทเรียนการยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์ หรือ “ไซฟ่อน” ที่เกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งทั่วโลกนั้น มักจบด้วยการล้มละลาย ราคาหุ้นรูดต่ำลงจนแทบไม่มีมูลค่า เช่นในกรณีของบริษัท Enron ที่สหรัฐอเมริกา ราคาหุ้นที่เคยสูงถึง 90 เหรียญสหรัฐฯ ตกลงมาเหลือเพียง 15 เซ็นต์ ผู้ถือหุ้นสูญเสียเงินไปรวม 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ความเสียหายมากมายมหาศาลเกินกว่าจะเยียวยา วันนี้ ดิฉันจึงอยากพาไปรู้จักเรื่องราวของการไซฟ่อนกันให้ดีขึ้น เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไว้ดูแลการลงทุนของคุณค่ะ“ไซฟ่อน” นั้น ทำกันอย่างไร?การไซฟ่อนเงิน (money siphoning) หมายถึง การยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์ของบริษัทไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวค่ะ โดยอาจจะทำผ่านช่องทางการทำธุรกิจปกติในรูปของการซื้อขายสินค้าหรือทรัพย์สินการกู้หรือให้ยืมเงิน การค้ำประกัน ระหว่างบริษัทจดทะเบียนกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหารหรือกิจการของบุคคลเหล่านี้

จากการที่ ก.ล.ต. ได้ศึกษาพฤติกรรมของบริษัทจดทะเบียนไทยในช่วงที่ผ่านมา พบว่า มีรูปแบบการไซฟ่อนที่พบบ่อย ๆ อยู่ 3 แบบด้วยกันค่ะ

แบบที่หนึ่ง คือ การที่บริษัทจดทะเบียนซื้อหรือขายสินค้า หรือทรัพย์สิน ราคาสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะกับกรรมการ/ผู้บริหาร/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือบริษัทในเครือ/บริษัทที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านั้น เช่น บมจ. วนิดา ได้ลงทุนซื้อหุ้น 25% ของ บจก. มหศักดิ์ (เป็นบริษัทของคุณประจักษ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ. วนิดา) ในราคา 15 ล้านบาท ทั้งที่มูลค่าตามบัญชีเพียง 2 ล้านบาท โดยอ้างว่ามูลค่าที่จ่ายเพิ่มเป็นค่าความนิยมของ บจก. มหศักดิ์ แต่ในอีก 1 เดือนต่อมา บมจ. วนิดา ต้องตั้งสำรองเผื่อขาดทุนหุ้น บจก. มหศักดิ์ถึง 13 ล้านบาท และในปีถัดมา บจก. มหศักดิ์ ก็เลิกกิจการ เป็นต้นค่ะอีกตัวอย่างของการไซฟ่อนในรูปแบบนี้ที่มักเกิดขึ้น ก็คือ เรื่องของการซื้อที่ดินในราคาสูง โดยมักให้เหตุผลว่าเพื่อเตรียมขยายโรงงาน เช่น บมจ. วงศ์วิบูลย์ ซื้อที่ดินจาก บจก. พิสมัย (ซึ่งเป็นบริษัทที่ภรรยาประธานกรรมการ บมจ. วงศ์วิบูลย์ ถือหุ้นอยู่) ในราคา 50 ล้านบาท ซึ่งในเวลาต่อมา ปรากฏราคาประเมินของที่ดินแปลงดังกล่าวเพียง 18 ล้านบาท แถม บมจ. วงศ์วิบูลย์ยังประกาศยกเลิกแผนขยายโรงงาน เท่ากับที่ดินที่ซื้อมาไม่มีการใช้ประโยชน์ตามที่บอกไว้ตอนซื้อ แต่ได้มีการผ่องถ่ายเงินของ บมจ. วงศ์วิบูลย์ออกไปยังบริษัทที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารเรียบร้อยแล้วค่ะ

แบบที่สอง คือการที่บริษัทจดทะเบียนให้กู้หรืออำนวยประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นใหญ่ในกิจการส่วนตัวแล้วขอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติอนุมัติ และภายหลังปรากฏว่า การให้กู้หรืออำนวยประโยชน์ดังกล่าวทำให้บริษัทจดทะเบียนได้รับความเสียหาย เช่น บมจ. ดาวระบำ ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น (อาจเพราะผู้ที่โหวตออกเสียงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเดียวกัน) ให้ปล่อยกู้แก่บริษัทส่วนตัวของคุณน้ำหวาน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท เพื่อลงทุนโครงการแห่งหนึ่งที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดย บมจ. ดาวระบำจะไม่ได้เป็นผู้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ต่อมาหลังวิกฤตเศรษฐกิจ โครงการดังกล่าวถูกเลื่อนไปไม่มีกำหนด บริษัทส่วนตัวของคุณน้ำหวานไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ได้ ทำให้ บมจ. ดาวระบำเสียหายค่ะ

แบบที่สาม คือ การปลอมแปลงเอกสาร/หลักฐาน รวมถึงเปิดบริษัทขึ้นมาทำธุรกรรมซื้อขายลวงเพื่อไซฟ่อนเงินออกค่ะ เช่น คุณประจวบ ผู้บริหารของ บมจ. ไทยมนตรี ใช้ชื่อผู้แทน (นอมินี) เปิดบริษัทอีกแห่งหนึ่งเพื่อส่งวัตถุดิบให้กับ บมจ. ไทยมนตรี โดยมีการโยกเงินออก เพื่อซื้อวัตถุดิบกับบริษัทดังกล่าว และจัดทำเอกสาร/หลักฐานปลอมขึ้นมา ทั้งที่ในความเป็นจริงไม่ได้มีการซื้อขายสินค้ากันจริง เป็นต้นค่ะด้วยผลกระทบจากการไซฟ่อนที่เป็นผลเสียต่อตลาดทุนโดยรวม และถือเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นนั้น ช่วง 5 -6 ปีที่ผ่านมา ก.ล.ต. จึงได้ดำเนินมาตรการเข้มในเรื่องนี้มาโดยตลอดค่ะ หากกรณีที่พบการกระทำผิด ก็ได้มีการกล่าวโทษผู้บริหารในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบในกิจการนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังได้วางมาตรการในเรื่องของการป้องกันควบคู่กันไป ด้วยการเข้าไปติดตามดูข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด ซึ่งแหล่งข้อมูลที่จะช่วยชี้นำได้ว่า บริษัทอาจเริ่มมีความไม่ชอบมาพากลในเรื่องของการไซฟ่อน ก็คือข้อมูลงบการเงิน และการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันค่ะ เนื่องจากที่ใดที่พบการไซฟ่อน ก็มักจะพบเรื่องของการตกแต่งงบการเงินด้วย ซึ่งดิฉันจะมีคำแนะนำเพื่อสังเกตพิรุธเรื่องนี้มาฝากกันในครั้งต่อไปค่ะ

***บทความนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับตลาดทุนแก่สาธารณชนเท่านั้น ในการจะนำข้อมูลไปอ้างอิง ควรตรวจสอบความถูกต้องและเป็นปัจจุบันของกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องด้วย***


ตั้งแต่ชมภาพยนต์มา ผมชอบหนังเรื่องนี้มากที่สุดครับ คิดว่าเป็นเรื่องที่เมื่อดูจบทุกคนสามารถย้อนกลับมาดูตนเองได้ เข้าทำนอง”แลหนัง แลตน”

giftไม่ได้ทำให้คนเก่งมีความสุข แต่”ความเข้าใจ”ช่วย(mottoนี้ผมตั้งให้เค้าเองนะคับ:)

ปล.ดูชื่อหนังซะก่อน “ตามล่าหา ความต้องการ(แม้แต่ตัวเอกเองช่วงแรกก็ยังไม่รู้ว่าต้องการอะไร)”

Storyline

A janitor at MIT, Will Hunting has a gift for maths that can take him light-years beyond his blue-collar roots, but to achieve his dream he must turn his back on the neighborhood and his best friend. To complicate matters, two strangers enter the equation: a washed-up shrink who starts to coach Will through his transformation, and a med student who shows him that there can be a pretty face along with his life of the mind.

Plot Synopsis:

Though Will Hunting (Matt Damon) has genius-level intelligence (such as a talent for memorizing facts and an intuitive ability to prove sophisticated mathematical theorems), he works as a janitor at MIT and lives alone in a sparsely furnished apartment in an impoverished South Boston neighborhood. An abused foster child, he subconsciously blames himself for his unhappy upbringing and turns this self-loathing into a form of self-sabotage in both his professional and emotional lives. Hence, he is unable to maintain either a steady job or a steady romantic relationship.

ที่มา: คิดเองแต่ขี้เกียจพิมพ์ เห็นเวปนี้คล้ายกะที่คิด(จริงๆลอกเค้ามา อิ อิ)เลยแฮบมาคับ http://www.imdb.com/title/tt0119217/

ข้าวทุกเม็ดมีค่า

Posted: กันยายน 28, 2010 in ภาพดี

เห็นแล้ว “สะเทือน” แล้วเกิดแรงบันดาลใจ ให้ไปแบ่งปันสิ่งที่เรามีเหลือ(แรงกายหรือการช่วยเหลือเล็กๆน้อยก็ใช่นะ)

จาก http://plixi.com/p/47614415

เกณฑ์ cash balance

Posted: กันยายน 27, 2010 in investment

Turnover List คืออะไร
Turnover List คือตารางแสดงรายชื่อของหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายหมุนเวียนอยู่ในระดับสูง
ซึ่งอาจนำไปสู่การซื้อขายที่ผิดปกติได้ ที่สับสนที่สุดคือ Turnover List มีผู้คำนวณ 2 คน
1. คนแรกคือ ก.ล.ต. และคำนวณเป็นรายสัปดาห์ (เผยแพร่ทุกเย็นวันศุกร์) โดยนักลงทุนสามารถดูรายชื่อหลักทรัพย์ที่ติด Turnover List ได้ที่ http://capital.sec.or.th/webapp/turnoverlist/showturnoverlist.php
2. คนที่สองคือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯยึดหลักการคำนวณเหมือนกับทาง ก.ล.ต. แต่อาจจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ การประกาศของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นการประกาศว่าหลักทรัพย์ใดติด Turnover List ผ่านช่องทางข่าวปกติของตลาดหลักทรัพย์ฯ และแจ้งไปยังโบรกเกอร์ทุกแห่งทางอีเมลล์

สำหรับวอร์แรนต์อนุพันธ์ (Derivative Warrants) เกณฑ์ในการติด Turnover List มีดังนี้
(1) %1W-Turnover มากกว่าหรือเท่ากับ 100% (เกณฑ์ ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ) และ
(2) % Premium มากกว่าหรือเท่ากับ 20% (เกณฑ์ ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ) และ
(3) มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์มากกว่า 100 ล้านบาท (เกณฑ์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ )

%1W-Turnover = [(มูลค่าซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์ x 5) / Market Capitalization ของใบสำคัญแสดงสิทธิเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์] x 100
%Premium = [( ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ + [(ราคาใช้สิทธิ – ราคาหุ้นสามัญอ้างอิง) x อัตราการใช้สิทธิ ]) / (ราคาหุ้นสามัญอ้างอิง x อัตราการใช้สิทธิ) ] x 100

ติด Turnover List แล้วไม่ดีตรงไหน
การติด Turnover List ของ ก.ล.ต. แปลว่าหลักทรัพย์นั้นมีโอกาสสูงที่จะติด Turnover List ของตลาดหลักทรัพย์
แต่เมื่อติด Turnover List ของตลาดหลักทรัพย์ฯ นั่นก็แปลว่า โบรกเกอร์ต้องให้ลูกค้าของตนซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ๆ โดยวางเงินสดไว้ล่วงหน้าเต็มจำนวนก่อนการซื้อ (Cash Balance) เท่านั้น
ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ห้ามซื้อขายโดยวางเงินเพียงบางส่วน เช่น
– วางเงิน 15% (Cash 15%) หรือ
– ซื้อขายในบัญชีเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) หรือ บัญชีมาร์จิ้น (Margin)

สรุปคือ เมื่อไรที่หลักทรัพย์ติด Turnover List ของตลาดหลักทรัพย์แล้ว หลักทรัพย์นั้นก็จะเหมือนถูกแตะแบรกไม่ให้มีความร้อนแรงเกินไปโดยการจำกัดให้ต้องวางเงิน 100% ก่อนซื้อ และในอีกมุมหนึ่งก็คือเป็นการเตือนให้นักลงทุนระวังไปพร้อมๆ กันด้วย

จาก http://bit.ly/cA22uI ทั้งดุ้น:)

บทเรียนจาก 2หนุ่ม 2 มุม ตอนที่ 2

Posted: กันยายน 27, 2010 in investment
ป้ายกำกับ:

กระทาชายนายนี้ คือ Philip A.Fisher

วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนเอกของโลกพูดอยู่เสมอว่าวิธีการลงทุนของเขานั้น 70% มาจากเบนจามิน เกรแฮม อีก 30% มาจาก Philip A. Fisher เขาผู้นี้เป็นใคร

• เขาเชี่ยวชาญในการลงทุนในธุรกิจที่เขารู้จักดี ซึ่งมักเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ได้มาจากการวิจัยและพัฒนา ฟิชเชอร์เริ่มใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบนี้ก่อนการเกิดของซิลิคอน วัลเลย์ ถึง 40 ปี
• ฟิชเชอร์ ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัทเท็กซัส อินสทรูเม้นต์ ในปี 1956 นานมากก่อนที่บริษัทนี้จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี 1970 เมื่อเริ่มแรกราคาหุ้นซื้อขายที่ 2.7 เหรียญ และหลังจากนั้นราคาก็ขึ้นไปถึง 200 เหรียญ เพิ่มขึ้น 7,400% โดยที่ไม่เคยจ่ายปันผลเลย เขาได้รับผลตอบแทนที่สูงมากจากการลงทุนในบริษัทนี้ โดยถือหุ้นไว้ไม่ได้ขายตลอดเวลากว่า 20 ปี
• * สิ่งที่Fisherมองเห็นจากการที่ตลาดหุ้นตกต่ำอย่างมากช่วงGreat Depressionคือ 1.นักลงทุนที่มีเงินเหลือน่าจะไม่พอใจกับโบรกเดิม 2.ท่ามกลางสภาวะเศรษกิจตกต่ำ นักธุรกิจมีเวลามากมายที่จะนั่งคุยกับFisher
• * เขาเชื่อว่ามีบริษัท2แบบที่ทศวรรษแล้วทศวรรษเล่าสามารถสร้างการเจริญเติบโตเหนือค่าเฉลี่ยได้คือ 1.บริษัทที่โชคดีและมีความสามารถ 2.บริษัทที่โชคดี“เพราะ”มีความสามารถ
• เขาเชื่อว่าFisherคือ(basicมั่กๆ)ความสำเร็จของการลงทุนขึ้นอยู่กับการหาบริษัทที่สามารถเติบโตเหนืออัตราเฉลี่ยอย่างยั่งยืน ในทั้งยอดขายและกำไรในช่วงเวลาหลายๆปีข้างหน้า ผลการดำเนินงานในระยะสั้นเป็นสิ่งที่ลวงตา

จาก the Essential Buffett  (กล่อง)ดวงใจของปู่บัฟฯ บท: บทเรียนจากนักปราชญ์3คนของวงการเงิน

และ http://bit.ly/9LBn29

 


2 หนุ่มที่ว่า ที่มาคือเป็นปราชญ์ที่ปู่บัฟเฟตยกย่องและมีอิทธิพลต่อstlyeการลงทุนของปู่บัฟฯในปัจจุบัน

หนุ่มใหญ่กว่า(ตอนนี้ไม่รู้กลับมาเกิดเป็นหนุ่มน้อยอ๊ะยัง)คือ Benjamin Graham

  • เป็นผู้เขียนตำราที่มีอิทธิพลต่อนักวิเคราะห์หุ้นทั่วโลก 2 เล่ม คือ Security Analysis(ที่พระเอกหนังเรื่อง the pursuit of happinessถือ) และ The Intelligent Investor(บัฟเฟตและนิตยสารฟอร์จูนยกย่องว่าเป็นหนังสือการลงทุนที่ดีที่สุดของโลก)
  • เคยจนถึงขั้นครอบครัวล้มละลายหลังพ่อตายและตัวเขาเองล้มรอบสองช่วงเกิด Great Depression แต่หลักฐานที่บอกว่าเขาเก่งเขาแน่คือจบวิทยาฯไม่มีคอนเนคชั่นหรือความรู้ด้านหุ้นมาก่อน แต่ถีบตัวจากอาชีพเมสเซนเจอร์เงินเดือนสัปดาห์ละ12เหรียญ เพียงห้าปีต่อมาก็มีเงินเดือนปีละ6แสนเหรียญ(ผลตอบแทนทบต้น4.3เท่าต่อปี)
  • เขาอ้างว่าสิ่งที่ทำให้เขาลุกขึ้นยืนได้คือการทบทวนและมองหาโอกาสใหม่ๆ
  • เกรแฮมแนะนำให้ดู3สัญญาณเตือนว่าตลาดหุ้นเสี่ยงถล่มทลาย 1.การปั่นหุ้นโดยนักลงทุนก็ยินดีเข้าไปเล่นด้วย 2.สถาบันการเงินให้เงินกู้อย่างไม่มีข้อจำกัดโดยเฉพาะหลักประกันคือมูลค่าของหุ้นซึ่งหากตลาดถล่มทลายทุกอย่างก็ล้มลงตาม 3.การมองโลกในแง่ดีจนไม่สนใจเหตุผลของฝ่ายทักท้วง สัญญาณ2ข้อแรกนั้นพอจะออกกฎมาดูแลได้ แต่อย่างที่3ตัวใครตัวมันนะพี่น้อง(สำนวนนี้ผมเติมเองครับ อิ อิ)
  • ก่อนเกิดGreat Depressionเพียงปีเดียว ความสยดสยอง(=น่ากลัวมาก:)มิได้อยู่ที่การเก็งกำไรพยายามที่จะปลอมตัวเป็นการลงทุน แต่ตรงกันข้ามคือการลงทุนกลับแปลงโฉมตัวเองเป็นนักเก็งกำไร โดยการซื้อหุ้นจะขาดcommon senseว่าหุ้นราคาแพงไปหรือไม่ กล่าวคือปราศจากเหตุผลทางมูลค่า หุ้นมีราคาเท่าไรก็ได้ ขอแค่ตลาดมองโลกในแง่ดีต่อไปก็พอ(แต่ใครจะไปรู้ล่ะว่าม้าหมุนจะหยุดเมื่อไร:)
  • บริษัทโตเร็วของGrahamคือกำไรเพิ่มจากวัฏจักรก่อนหน้ามาสู่วัฏจักรนี้ key to successของการลงทุนแบบนี้คือ1.ความสามารถในการหาบริษัทอย่างว่า 2.มั่นใจว่าราคาหุ้นยังมิได้สะท้อนศักยภาพการเติบโต
  • keyที่Grahamใช้ประเมินว่าผลตอบแทนจะเป็นเท่าไรคือ 1.ความสม่ำเสมอของกำไร 2.นโยบายปันผล 3.สุขภาพทางการเงิน
  • ปัจจัยด้านคุณภาพ2ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพื่อrefreshสมมติฐานที่ใช้ประเมินมูลค้าหุ้นคือ 1.ความสามารถของการจัดการ 2.ธรรมชาติของธุรกิจ
  • อะไรที่วัดลำบากGrahamให้เหตุผลว่าสามารถวัดผิดได้มาก
  • ความเชื่อของGrahamมาจากสมมติฐานที่ว่า ตลาดตั้งราคาผิดอยู่บ่อยๆซึ่งน่าจะเป็นผลจากอารมณ์โลภและกลัวของมนุษย์

                                                                   จาก the Essential Buffett  (กล่อง)ดวงใจของปู่บัฟฯ บท: บทเรียนจากนักปราชญ์3คนของวงการเงิน

หลักการเดิมพัน

Posted: กันยายน 27, 2010 in investment
ป้ายกำกับ:


ขอขอบคุณพี่กลม ที่เป็นจุดยืนให้ผมมีblogเป็นของตัวเอง(ตื่นเต้นมากส์เพราะเป็นการเปิดซิงของผมเลย อิ อิ)

ผมเป็นนักลงทุนหุ้นมือใหม่ประสบการณ์หนึ่งปี ปัจจุบันลงทุนแนวValue+Growth stock เป็นหลัก สนใจmacro/megatrends, forex, business, stock, religion, philosophy, psychology, joke(โดยเฉพาะยิ่ง”หื่น”ยิ่งชอบ:)

ขอบคุณที่ให้เกียรติเยี่ยมชมblogผมครับ