Archive for the ‘investment’ Category


ขออนุญาตสรุป ‘ข้อจำกัด ของการวิเคราะห์งบการเงิน (Limitations of Financial Statement Analysis)’

จากหนังสือ การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน (Financial Report Analysis) เขียนโดย รศ.วันเพ็ญ วศินารมณ์ ด้วยสำนวนของผม มานำเสนอนะครับ

การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน โดยใช้เครื่องมือทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ Horizontal Analysis , Vertical หรือ Common-Size Analysis , Ratio Analysis มีข้อจำกัดดังนี้

1.Estimates

ตัวเลขในงบฯหลายรายการเกิดจากการประมาณการ เช่น การประมาณหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ การคิดค่าเสื่อมราคา การประมาณการค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่เกิดจากการประกันสินค้า เป็นต้น ถ้าการประมาณการไม่ถูกต้อง จะทำให้ตัวเลขในงบการเงินไม่ถูกต้อง และผลการวิเคราะห์ก็จะไม่ถูกต้อง

2.Atypical Data

บางกิจการมีการปิดบัญชีช่วงฤดูกาลที่ขายดี ทำให้สินทรัพย์และหนี้สินมากหรือน้อยกว่าโดยเฉลี่ยทั้งปี

3.Cost

ตัวเลขในงบการเงินจะใช้ราคาทุน ดังนั้นการเปรียบเทียบงบการเงินที่ไม่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้อทำให้ตีความผิดได้ เช่น เปรียบเทียบยอดขาย 2 ปี พบว่ามีอัตราการเพิ่มของยอดขาย 5% ถ้าอัตราการเงินเฟ้อ 5% แสดงว่ากิจการมิได้เติบโตเลย หรือการเปรียบเทียบมูลค่าสินทรัพย์2ชิ้น ที่ซื้อในเวลาที่ต่างกัน อาจตีความผิดได้

4.Diversification

ธุรกิจขนาดใหญ่ จะประกอบธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างมาก ทำให้หาธุรกิจที่คล้ายกันเพื่อเปรียบเทียบได้ยาก ในUSA บริษัท Pepsi ประกอบธุรกิจขายน้ำอัดลม และร้านอาหาร เช่น Pizza Hut , Kentucky Fried Chicken ขณะที่บริษัท Coke ประกอบธุรกิจขายน้ำอัดลม และผลิตขวด

สำหรับในไทย SCCC ทำธุรกิจปูนซีเมนต์อย่างเดียวไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับ SCC ซึ่งประกอบธุรกิจปูนซีเมนต์คิดเป็นรายได้เพียงประมาณร้อยละ20ของรายได้รวม แต่ประกอบธุรกิจปิโตรเคมี และกระดาษด้วย

5.Alternative Accounting Methods

เนื่องจากวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่ต่างกัน ทำให้กำไรที่รายงานออกมามีคุณภาพที่แตกต่างกันด้วย , มีหลักการบัญชีสำหรับการวัดมูลค่าหรือการนำเสนอหลายวิธี สำหรับเหตุการณ์อย่างเดียวกัน ผู้บริหารมักเลือกหลักการบัญชีที่เป็นประโยชน์กับตัวเลขกำไร ตนเอง หรือกิจการ ส่งผลให้ตัวเลขสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย แตกต่างกัน เช่น การเลือกคิดค่าเสื่อมราคาว่าจะคิดแบบเส้นตรงซะทุกรายการ หรือคิดให้สอดคล้องกับความจริงหากต้องขายสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากอย่างมีนัยสำคัญ , การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร เพื่อศึกษาว่ากิจการมีผลการดำเนินการอย่างไร ในภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง และในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือไม่ว่าจะเป็นการที่รายได้เติบโต แต่กำไรไม่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นควรดูว่ากิจการยังรักษาอัตรากำไรไว้ได้หรือไม่ การศึกษาแนวโน้มของรายได้ และกำไรย้อนหลังไปหลายๆปีจะทำให้เห็นภาพวัฏจักรของธุรกิจและความสม่ำเสมอในการหากำไร , ควรไปอ่านหลักการบัญชีที่ผู้บริหารเลือกใช้ในหมายเหตุประกอบงบฯ แน่นอนห้ามพลาดการอ่านรายงานผู้สอบบัญชีด้วยเพราะถือเป็น ‘the must‘ อ่านเพื่อให้รู้ว่ามีสัญญาณที่ผู้สอบได้กลิ่นตุๆหรือไม่ ปล.ถ้าผู้สอบบอกว่าหาสิ่งผิดปกติไม่เจอ ก็ไม่ได้แปลว่าไม่มีขยะซ่อนอยู่ใต้พรมนะ หุหุ

6.เหตุ ที่กระทบต่อความสามารถในการหากำไร และความอยู่รอดของธุรกิจ อาจไม่แสดงในงบการเงิน

เช่น ข้อมูลบอกว่า market share ลดติดกันมาหลายไตรมาสแล้ว และมีแนวโน้มลดลงต่อไป , ทะเลาะกับลูกค้า , การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค , การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี , การเปลี่ยนระบบบริหาร , การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายระเบียบข้อบังคับกติกาในการค้า , การที่สินค้าทดแทนกำลังมาแรง , การยกเลิกส่วนงาน ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่แสดงอยู่ในรายงานประจำปีเลยก็เป็นได้

7.Lagging Indicator

การวิเคราะห์งบการเงิน เป็นการวเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อนำผลของการวิเคราะห์ไปช่วยพยากรณ์อนาคต อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะเกิดในอนาคตอาจต่างไปจากอดีต

8.Account Classification Differences

กิจการมักจะจัดประเภทของรายการที่แสดงในงบการเงินแตกต่างกัน เช่น กิจการอาจแสดงค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายเป็นรายการในงบกำไรขาดทุน แต่บางกิจการอาจรวมค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายเป็นรายการในต้นทุนของสินค้าขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ทำให้การเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างกิจการไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้วิเคราห์ควรปรับงบการเงินที่จะนำมาเปรียบเทียบให้มีการจัดประเภทเหมือนกันก่อน และถ้าไม่สามารถจัดประเภทให้เหมือนกันได้ ก็ต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอในการวิเคราะห์


ผมขออนุญาตสรุป case study จากหนังสือ ‘กลโกง สะท้านโลก’ เขียนโดย ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล ด้วยสำนวนของผม มาเล่าให้ฟังนะครับ

 

ถ้าไม่อยากถูกฮุบกิจการ พึงระวังอย่าให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง จนเจ้าหนี้ต้องเข้ามาควบคุมการทำงาน ที่สำคัญตรวจสอบสถานะการถือหุ้นอยู่เป็นประจำ

ขอเล่าในรูปแบบ ตามลำดับเวลา จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนไปหลัง (time line) นะครับ..

‘ENRON’ ได้รับการลงคะแนนจาก Fortune ให้เป็นบริษัทที่ล้ำหน้าที่สุด 6 ปีติดและในปี 2000 ถูกจัดให้เป็นบริษัทใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 7 ใน Fortune 500

จากนั้น เดือนธันวาคม 2001 ENRON ก็ได้ยื่นขอความคุ้มครองจากศาลในฐานะเป็นบริษัทที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวที่ใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์อเมริกา

ผู้บริหารระดับสูงของ ENRON บริหารธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ ‘ลดทรัพย์สิน (Asset Light)’ โดยกระจายทรัพย์สินไปในบริษัทลูก เพื่อให้กู้เงินเพิ่มได้

ความสำเร็จกลยุทธ์ ‘Asset Light’ ขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบริษัท โดย ENRONตั้งบริษัทในเครือขึ้นมามากมาย และมีการโยกย้ายทรัพย์สินออกไปนอกบัญชี

ความที่บริษัทมีหนี้เพิ่มขึ้นมาก ผู้บริหารระดับสูงจึงได้สร้างบริษัทในเครือเพิ่มขึ้นและซับซ้อนขึ้น

เพื่อกระจายภาระหนี้ออกไป และทำให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ดูมากมายผ่านการนับซ้ำหลายครั้ง

ในปี 2000 ธุรกิจเติบโตเป็นทวีคูณ ราคาหุ้นขึ้นสูงถึงหุ้นละ 90 $ ปีเดียวกันรายได้ของ ENRON ลดลงอย่างมาก

ต่อมา ENRON ได้ยื่นเรื่องกับกลต.USA ว่าจะแก้ไขบัญชีงบการเงินของบริษัท ในเดือนนั้นมีบริษัทตกลงที่จะซื้อ ENRON ในราคาหนึ่งหมื่นล้าน$

แต่ก็ยกเลิกไป เพราะหลังตรวจสอบสถานะแล้ว พบหนี้และตัวเลขทางบัญชีที่ไม่แน่นอนอีกมหาศาล ราคาหุ้นจึงลดฮวบเหลือหุ้นละ 1 $

case ENRON จบด้วยหุ้นดิ่งจาก 90 เหลือ 1 $ เข้าสู่กระบวนการล้มละลายท้ายที่สุด

                                     o(^▽^)o <<  จบ case แรก ครับ

 

case 2 ‘ ปิคนิค ‘ ย้อนตำนานเอ็นรอน

จากการลงทุน และกระจายทรัพย์สินของปิคนิค ทำให้นึกถึงทฤษฎี Asset Light ของเอ็นรอน ที่กระจายทรัพย์สินไปบ.ในเครือ ขณะหนี้สินก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

กลต.กล่าวโทษผู้บริหารว่าทำผิด 2 กรณี 1ตกแต่งบัญชี ให้มีกำไรเพิ่ม และซื้อก๊าซจากโรงบรรจุก๊าซ 10 แห่ง ที่มีความสัมพันธ์กับปิคนิค ในราคาแพงเว่อร์

2ร่วมลงนามกู้ยืมเงิน 460 ล้านบาท แล้วมีเงิน 85 ล้านบาทเข้าบัญชีส่วนตัวของผู้บริหาร เข้าข่ายยอกทรัพย์

จากการสอบทานข้อมูลทางการเงิน พบว่าแผนกบัญชีของกลุ่มบริษัทโรงบรรจุก๊าซทั้ง 10 แห่ง อยู่ที่บ้านผู้ถือหุ้นหลัก!! และไม่เคยมีการกระทบยอดเลย

บริษัทโรงบรรจุก๊าซยังนำถังก๊าซไปให้ลูกค้ายืม โดยไม่มีการเก็บเงินมัดจำ นอกจากนั้น ยังไม่สามารถยืนยันจากลูกค้าว่ามีตัวตนอยู่จริงได้

ผู้สอบบัญชีตั้งข้อสังเกตว่า มีการสั่งการให้บริษัทในเครือทำธุรกรรมที่จะมีผลในการสร้างกำไรให้แก่ปิคนิค

                                                          ヘ(^_^ヘ)    (ノ^_^)ノ

 

case 3 ‘เอกธนกิจ’ บทเรียนกลเกมการเงิน

เมื่อมองย้อนกลับไปชวนให้สงสัยว่า เหตุใดจึงไม่มีใครสงสัยว่าตัวเลขกำไรของบริษัทที่สูงลิ่ว มีแหล่งที่มาอย่างไร

 ไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์ ผู้กำกับดูแล จนกระทั่งปัญหาบานปลายสายเกินแก้

บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ เริ่มต้นจากบริษัทเงินทุนขนาดเล็กมีทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาทในปี 2524

ได้มีการขยายกิจการอย่างรวดเร็ว โดยระดมทุนจากผู้ถือหุ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นKBANK กลุ่มCP และBNP paribas

จนกระทั่งปี 2537 บริษัทมีทุนจดทะเบียนสูงถึง 5,400 ล้านบาท กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจคือ การสร้างภาพว่าเป็น Investment Banker มืออาชีพ

ที่เก่งด้านซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาต่ำกว่าจริง เพื่อนำมาฟื้นฟู แล้วขายในราคาที่มีกำไร

เอกธนกิจได้เข้าซื้อบริษัทผลิตยางยืด และเปลี่ยนบ.ดังกล่าวให้เป็นบริษัทโฮลดิ้ง ที่จะเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจทุกประเภทได้

บ.โฮลดิ้งกลายเป็นช่องทางของบริษัทในเครือในการถ่ายเทกำไร และปล่อยเงินกู้ระหว่างธุรกิจในเครือด้วยกันเอง

อาณาจักรธุรกิจของกลุ่มเอกธนกิจเริ่มสั่นคลอน เมื่อเศรษฐกิจเริ่มถดถอยช่วงปลายปี2539 โดยNPLในธุรกิจเช่าซื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ขณะราคาสินทรัพย์ที่ถือก็ดิ่งตามดัชนีหลักทรัพย์ ซ้ำเติมด้วยรายได้จากค่า brokerage fee ก็หดตัวอย่างรวดเร็ว

บริษัทประสบภาวะขาดสภาพคล่องและขาดทุนสูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท ทรุดหนักยิ่งขึ้นเมื่อรัฐลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้หนี้ตปท.เพิ่ม

ธนาคารแห่งประเทศไทยปฏิเสธที่จะอัดฉีดเงินเพิ่ม หลังจากให้ไปแล้ว4หมื่นล้านบาท

ปี39ผู้ฝากเงินแห่กันถอนเงินหลังข่าวลือบริษัทจะล้ม ทำให้หนี้รวมเพิ่มขึ้นเป็น8หมื่นล้านบาท

ในที่สุดบริษัทก็ถูกปิดกิจการ หลังแผนระดมทุนล้มเหลว ** ก็จะไม่ให้ล้มเหลวได้ไง งานนี้กรรมการและผู้บริหารเล่นทิ้งหุ้นตั้งแต่ก่อนประกาศเพิ่มทุน

แสดงให้เห็นว่าคนวงในเองก็ขาดความเชื่อมั่นในบริษัทเงินทุนเอกธนกิจ และยังมีกรรมการและผู้บริหารบางรายถูกปรับข้อหา insider trading ด้วย

นี่คือจุดเริ่มต้นของการสั่งปิดบริษัทเงินทุน 56 แห่ง ในปี 41 ยังปิดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อีก 7 แห่ง

                                                  (╭ ̄3 ̄)╭♡(・ε・)ノ  (◍′◡‵◍)

 

case 4 ‘ Worldcom ‘

เคสนี้คล้ายกะ Enron มีประเด็นน่าสนตรง สัญญาณเตือนภัย ที่นักลงทุนควรอ่านให้ออก..

พอผู้สอบบัญชีตรวจพบว่า มีการบันทึกบัญชีผิด จาก’ค่าใช้จ่าย’ ดันไปบันทึกเป็น ‘เงินลงทุน’

ก็ได้แจ้งให้กรรมการตรวจสอบของบริษัททราบ และชี้แจงว่างบการเงินในปี 2001 นั้น อาจเชื่อถือไม่ได้

**ผลที่ได้รับคือ บริษัทเปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่ทันที !!

              ┌(^_^)┘♪└(^_^)┐ ( ‘⌣’)人(‘⌣’ )

 

case สุดท้าย พูดถึงการซื้อกระดาษ และ ฝันสลายของวัยเกษียณ (ออกแนวโหดร้าย).. ‘เอควิเทเบิ้ล ไลฟ์ ประกันชีวิต’

‘ความหายนะที่ผู้เอาประกันจำนวนมากต้องประสบ เกิดจากกรมธรรม์ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อดังดูดให้ลูกค้าสนใจซื้อ

โดยไม่คำนึงว่ามีเงินทุนเพียงพอจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้เอาประกันหรือไม่ ‘

อควิเทเบิ้ล ไลฟ์ เคยเป็นบริษัทประกันชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุกว่า 240 ปี

ต่อมาผู้บริหารได้ออกกรมธรรม์แบบใหม่โดยสัญญากับผู้เอาประกันจำนวนมาก ว่าจะจ่ายเงินปันผลในจำนวนที่สูงเกินไป

หลังจากปลายยุคปี80 บริษัทยอมรับกับผู้เอาประกันว่า บริษัทมีหนี้สินต่อผู้เอาประกันสูงกว่าสินทรัพย์ของบริษัทถึงกว่า3พันล้านปอนด์

และก่อนปี2001 เพิ่มสูงขึ้นถึง 4 พันล้านปอนด์ ทำให้บริษัทเกือบล้มละลายเนื่องจากไม่สามารถจ่ายเงินให้ผู้ถือเอาประกันได้

ผู้ถือกรมธรรม์ต้องพบกับสภาพที่กรมธรรม์ของตนเองมีมูลค่าลดลงมากที่สุดถึง 40%

* โดยบริษัทเอควิเทเบิ้ล ไลฟ์ได้กล่าวโทษ Ernst & Young ว่าออกงบการเงินโดยไม่เตือนถึงปัญหาที่นำไปสู่การล้มละลาย

ทางฝั่ง Ernst & Young โต้กลับว่า ไม่สามารถรายงานต่อบริษัทในสิ่งที่ผู้สอบบัญชีเองไม่รู้มาก่อน

และ ไม่มีข้อมูลใดๆที่เรารู้ แต่คณะกรรมการไม่รู้มาก่อน

เคสนี้น่าส่งสารมากเพราะความเสียหายเกิดกับผู้เกษียณอายุ และค่าเสียหายที่เรียกร้องนั้น

เป็นจำนวนสูงสุดที่เคยมีการเรียกร้องต่อบุคคลหรือผู้ตรวจสอบบัญชี ในประวัติศาสตร์ประเทศอังกฤษ

                                                   – จบแว้ว –

รู้จักสู้ – รู้ทันถอย

Posted: พฤศจิกายน 12, 2010 in investment

การเคลื่อนพลนั้น หากมิได้เปรียบ อย่าเคลื่อน

การใช้ไพร่พลนั้น หากมิได้ประโยชน์ อย่าใช้

การออกรบนั้น หากมิตกอยู่ในวิกฤต ก็อย่ารบ

                              ตำราพิชัยสงครามซุนวู ว่าด้วยเรื่องการจู่โจม

จงลงมือเมื่อได้ประโยชน์ และหยุดนิ่งเมื่อไม่ได้ประโยชน์ นี่เป็นคำกล่าวในตำราพิชัยยุทธ์ของซุนวู ซึ่งกล่าวย้ำไว้ถึงสองครั้ง คำกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความรอบคอบของหลักการทำสงครามของซุนวู หลักการข้อนี้นำมาปรับใช้ได้ในชีวิตหรือแม้กระทั่งแวดวงธุรกิจ นั่นคือ ‘ พึงแข่งขันยามจำเป็นเท่านั้น ’

การแข่งขันเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง มิใช่เป้าหมายแห่งการอยู่รอดและพัฒนา การใช้การแข่งขันเฉพาะคราวจำเป็น หมายถึง การศึกษาจุดแข็งจุดอ่อนของคู่แข่ง ผิดกับการแข่งขันที่ไร้เหตุผล ไร้กฎเกณฑ์ ขาดสติยั้งคิด ซึ่งเสมือนการเข้าไปเสี่ยงภัยอย่างขาดสติ    การแข่งขันมากเกินไปจะทำลายทุกฝ่ายรวมถึงตนเอง สิ้นเปลืองทรัพยากรในสังคม ดังนั้นควรจำกัดการแข่งขันไว้ และหลบลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็น ส่วนถ้าเลี่ยงการแข่งขันไม่ได้ ก็ควรเลือกสภาพแวดล้อมในการแข่งขันที่ได้เปรียบและเลือกคู่แข่งอย่างรอบคอบ (อย่าขัดแย้งกับใครให้มากไปนะ!)

กรณีศึกษาที่1 การแข่งขันแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ ย่อมนำไปสู่ความล้มเหลว

โรเบิร์ต แคมโพ เคยรวยที่สุดในแคนาดา เขามีชื่อเสียงในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทแคมโพ ทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มานานกว่า 40 ปี  ในช่วงทศวรรษ 1970 บริษัทได้ขยายกิจการและกู้เงินธนาคารหลายแห่งเพื่อซื้อที่ดินใจกลางเมืองแมนฮัตตันในนิวยอร์ก  ในปี 1988 โรเบิร์ต แคมโพ ยังคงขยายกิจการโดยเข้าไปซื้อห้างสรรพสินค้า Macy เพื่อควบคุมกิจการ Federated Department Store Inc.  ในที่สุดเขาก็ได้เป็นเจ้าของด้วยเงินที่ใช้ในการซื้อถึง 6.5 พันล้านดอลลาร์ และกลายเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุด แต่ทว่า.. การใช้เงินนี้ทำให้เงินทุนของแคมโพหมดไปมาก และทำให้มีปัญหาด้านการเงิน การซื้อกิจการทำให้บริษัทเป็นหนี้มหาศาล ในปี 1989 เขาจึงขายห้างสรรพสินค้า 1 ใน 2 แห่งให้กลุ่มบริษัทค้าปลีกชาวญี่ปุ่น บริษัทญี่ปุ่นรู้สถาณการณ์ของแคมโพ จึงกดราคาต่ำมาก โรเบริ์ต แคมโพ ไม่สามารถรับเงื่อนไขนั้นได้ ที่สุดเข้าถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย สุดท้ายโรเบิร์ต แคมโพ เป็นหนี้มากกว่าหมื่นล้านดอลลาร์ เขาขายบริษัททั้งหมดรวมกับทรัพย์สินส่วนตัว แต่ก็ยังขาดเงินอีก1พันล้านเหรียญสหรัฐ  การที่โรเบิร์ต แคมโพ ย้ายมาทำธุรกิจค้าปลีกที่ไม่คุ้นเคยโดยไม่ได้เรียนรู้ธุรกิจนั้นอย่างดี ทำให้เขาสูญเสียอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดที่มี

กรณีศึกษาที่2 ถลำพลาดเหมือนจรวดพุ่งดิ่งลง เพราะความไม่รู้จริงเป็นเหตุ

ในช่วงทศวรรษปี 1970 ตลาดผลิตรถจักรยานยนต์ของญี่ปุ่นมีเพียง 4 ราย คือ ฮอนด้า ยามาฮ่า ซูซูกิ และคาวาซากิ ในบริษัททั้ง 4 นี้ ฮอนด้าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดและมีส่วนแบ่งตลาดถึง 85%  เริ่มต้นปี 1970 ฮอนด้าตัดสินใจผลิตรถยนต์ขนาด4-7 ที่นั่งจึงลงทุนทั้งด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์การผลิต  ปี 1975 ยอดขายรถยนต์สูงกว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ ขณะที่ฮอนด้ามุ่งพัฒนาตลาดรถยนต์ ยามาฮ่าซึ่งใหญ่เป็นที่ 2 ถือโอกาสนี้ตีตลาดจนยอดขายใกล้เคียงฮอนด้า ในปี1981ยามาฮ่าลงทุนสร้างโรงงานผลิตจักรยานยนต์จนมีกำลังการผลิตถึง1ล้านคัน ฮอนด้าเป็นผู้นำตลาดรถในญี่ปุ่นและมีฐานะการเงินมั่นคง ฮอนด้าซึ่งมีเทคโนโลยีการผลิตรถสูงกว่าได้ตอบโต้และสั่งสอนยามาฮ่าก่อนที่โรงงานใหม่ของยามาฮ่าจะสร้างเสร็จ นี่เป็นประวัติศาสตร์การแข่งขันทางธุรกิจในญี่ปุ่นที่นับว่าแข่งกันอย่างเอาเป็นเอาตายกันไปข้างหนึ่งทีเดียว ฮอนด้าเริ่มเล่นสงครามราคา ในช่วงการแข่งขันที่รุนแรงมากที่สุดฮอนด้าขายรถจักรยานยนต์ขนาด 50 ลิตร ถูกกว่าราคารถจักรยาน 10 เกียร์เสียอีก นอกจากธุรกิจจักรยานยนต์แล้ว ฮอนด้ายังมีธุรกิจรถยนต์เป็นตัวสนับสนุนด้านการเงินให้กับการทำสงครามราคาในตลาดรถจักรยานยนต์ได้ ผิดกับยามาฮ่าที่มีรายได้จาการขายรถจักรยานยนต์เพียงอย่างเดียว ยามาฮ่าจึงเสียเปรียบด้านเงินทุนและต้นทุนอย่างเห็นได้ชัด ฮอนด้ายังใช้กลยุทธ์เพิ่มรูปแบบของสินค้าและทำให้แต่ละรุ่นมีช่วงชีวิตสั้นลง ภายใน 8 เดือนฮอนด้าผลิตจักรยานยนต์มา 81 รุ่น ขณะที่ยามาฮ่ามีเพียง 34 รุ่น การเสียเปรียบด้านต้นทุนและการออกแบบที่ตามไม่ทันคู่แข่งฉุดยอดขายดิ่งลง ปลายปี 1982 ยามาฮ่าเป็นหนี้ถึงสองแสนล้านเยน ธนาคารงดให้เงินกู้ สินค้าคงเหลือก็มีอยู่กองพะเนิน  ในปี 1983 นายโคกิเอะ ประธานบริษัทของยามาฮ่าถูกปลดออกจากตำแหน่ง สงครามยาวนาน 18 เดือนจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของยามาฮ่า

‘ความรอบคอบเป็นสิ่งสำคัญทั้งก่อนตัดสินใจเข้าแข่งและขณะลงแข่ง การแข่งขันที่สมเหตุสมผลเกิดจากความเข้าใจคู่ต่อสู้ ส่วนการแข่งขันอย่างคนตาบอดและไร้สติ ย่อมนำมาซึ่งความปวดร้าว’

ดัดแปลงจาก สุดยอดพิชัยสงครามการค้า เขียนโดย Wang Xuanming


ความงมงายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิตคือ ความเข้าใจว่า “ชีวิตตูไม่น่ามีปัญหาเลย!!”

ปัญหาต่างๆจะหมดไป เพียงแค่..คุณโทรมาภายใน30นาทีนี้ ไม่ใช่สิ เพียงแค่คุณมีปัญหาที่ใหญ่กว่า(ซึ่งแปลว่าคุณมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตสูงขึ้นอีกขั้นนึง)

หลายครั้งการจัดการที่ดีคือ “การไม่จัดการ”

ตัวตนคนต้องดูกันตอน”เผลอ”

รับผิดชอบตั้งแต่เริ่มต้นคือความสนุก รับผิดชอบเฉพาะตอนท้ายคือภาระ

\(♥.♥)/ ไม่ว่าคุณจะยอมรับว่าเป็นต้นเหตุในชีวิตของคุณหรือไม่ คุณก็เป็นต้นเหตุอยู่ดี

ประเด็นอยู่ที่”ความรู้สึก”ต่อปัญหา  มิใช่อยู่ที่ความยากลำบากของปัญหา

หากเราต่างเคยเป็น “คนธรรมดา..ที่ทำตัวไม่ธรรมดา” ถึงเวลาหรือยังที่จะเปลี่ยนเป็น “คนไม่ธรรมดา..ที่ทำตัวธรรมดา”

“ไซฟ่อน” รู้ไว้กันจน

Posted: กันยายน 30, 2010 in investment
ป้ายกำกับ:

คอลัมน์ “ก.ล.ต. คู่คิดนักลงทุน” นสพ. กรุงเทพธุรกิจประจำวันที่ 23 กันยายน 2553
โดย จารุพรรณ อินทรรุ่ง สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.

รู้จักกลโกง: เขาไซฟ่อนกันอย่างไร?

หากคุณเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียน วันดีคืนร้ายมีข่าวออกมาว่า ผู้บริหารคนหนึ่งยักย้ายถ่ายเทเงินของบริษัทไปเข้ากระเป๋าตัวเอง คุณจะรู้สึกอย่างไรคะ? หากคุณเห็นว่าโกงได้โกงไป อย่าได้แคร์ ขอแค่มีผลงานดี ทำกำไรให้บริษัทเยอะ ๆ ราคาหุ้นจะได้ขึ้น แถมคุณยังพลอยฟ้าพลอยฝนได้เงินปันผลงาม ๆ ล่ะก็ดิฉันขอให้คุณเปลี่ยนความคิดเถอะค่ะ เพราะจากบทเรียนการยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์ หรือ “ไซฟ่อน” ที่เกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งทั่วโลกนั้น มักจบด้วยการล้มละลาย ราคาหุ้นรูดต่ำลงจนแทบไม่มีมูลค่า เช่นในกรณีของบริษัท Enron ที่สหรัฐอเมริกา ราคาหุ้นที่เคยสูงถึง 90 เหรียญสหรัฐฯ ตกลงมาเหลือเพียง 15 เซ็นต์ ผู้ถือหุ้นสูญเสียเงินไปรวม 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ความเสียหายมากมายมหาศาลเกินกว่าจะเยียวยา วันนี้ ดิฉันจึงอยากพาไปรู้จักเรื่องราวของการไซฟ่อนกันให้ดีขึ้น เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไว้ดูแลการลงทุนของคุณค่ะ“ไซฟ่อน” นั้น ทำกันอย่างไร?การไซฟ่อนเงิน (money siphoning) หมายถึง การยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์ของบริษัทไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวค่ะ โดยอาจจะทำผ่านช่องทางการทำธุรกิจปกติในรูปของการซื้อขายสินค้าหรือทรัพย์สินการกู้หรือให้ยืมเงิน การค้ำประกัน ระหว่างบริษัทจดทะเบียนกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหารหรือกิจการของบุคคลเหล่านี้

จากการที่ ก.ล.ต. ได้ศึกษาพฤติกรรมของบริษัทจดทะเบียนไทยในช่วงที่ผ่านมา พบว่า มีรูปแบบการไซฟ่อนที่พบบ่อย ๆ อยู่ 3 แบบด้วยกันค่ะ

แบบที่หนึ่ง คือ การที่บริษัทจดทะเบียนซื้อหรือขายสินค้า หรือทรัพย์สิน ราคาสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะกับกรรมการ/ผู้บริหาร/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือบริษัทในเครือ/บริษัทที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านั้น เช่น บมจ. วนิดา ได้ลงทุนซื้อหุ้น 25% ของ บจก. มหศักดิ์ (เป็นบริษัทของคุณประจักษ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ. วนิดา) ในราคา 15 ล้านบาท ทั้งที่มูลค่าตามบัญชีเพียง 2 ล้านบาท โดยอ้างว่ามูลค่าที่จ่ายเพิ่มเป็นค่าความนิยมของ บจก. มหศักดิ์ แต่ในอีก 1 เดือนต่อมา บมจ. วนิดา ต้องตั้งสำรองเผื่อขาดทุนหุ้น บจก. มหศักดิ์ถึง 13 ล้านบาท และในปีถัดมา บจก. มหศักดิ์ ก็เลิกกิจการ เป็นต้นค่ะอีกตัวอย่างของการไซฟ่อนในรูปแบบนี้ที่มักเกิดขึ้น ก็คือ เรื่องของการซื้อที่ดินในราคาสูง โดยมักให้เหตุผลว่าเพื่อเตรียมขยายโรงงาน เช่น บมจ. วงศ์วิบูลย์ ซื้อที่ดินจาก บจก. พิสมัย (ซึ่งเป็นบริษัทที่ภรรยาประธานกรรมการ บมจ. วงศ์วิบูลย์ ถือหุ้นอยู่) ในราคา 50 ล้านบาท ซึ่งในเวลาต่อมา ปรากฏราคาประเมินของที่ดินแปลงดังกล่าวเพียง 18 ล้านบาท แถม บมจ. วงศ์วิบูลย์ยังประกาศยกเลิกแผนขยายโรงงาน เท่ากับที่ดินที่ซื้อมาไม่มีการใช้ประโยชน์ตามที่บอกไว้ตอนซื้อ แต่ได้มีการผ่องถ่ายเงินของ บมจ. วงศ์วิบูลย์ออกไปยังบริษัทที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารเรียบร้อยแล้วค่ะ

แบบที่สอง คือการที่บริษัทจดทะเบียนให้กู้หรืออำนวยประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นใหญ่ในกิจการส่วนตัวแล้วขอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติอนุมัติ และภายหลังปรากฏว่า การให้กู้หรืออำนวยประโยชน์ดังกล่าวทำให้บริษัทจดทะเบียนได้รับความเสียหาย เช่น บมจ. ดาวระบำ ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น (อาจเพราะผู้ที่โหวตออกเสียงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเดียวกัน) ให้ปล่อยกู้แก่บริษัทส่วนตัวของคุณน้ำหวาน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท เพื่อลงทุนโครงการแห่งหนึ่งที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดย บมจ. ดาวระบำจะไม่ได้เป็นผู้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ต่อมาหลังวิกฤตเศรษฐกิจ โครงการดังกล่าวถูกเลื่อนไปไม่มีกำหนด บริษัทส่วนตัวของคุณน้ำหวานไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ได้ ทำให้ บมจ. ดาวระบำเสียหายค่ะ

แบบที่สาม คือ การปลอมแปลงเอกสาร/หลักฐาน รวมถึงเปิดบริษัทขึ้นมาทำธุรกรรมซื้อขายลวงเพื่อไซฟ่อนเงินออกค่ะ เช่น คุณประจวบ ผู้บริหารของ บมจ. ไทยมนตรี ใช้ชื่อผู้แทน (นอมินี) เปิดบริษัทอีกแห่งหนึ่งเพื่อส่งวัตถุดิบให้กับ บมจ. ไทยมนตรี โดยมีการโยกเงินออก เพื่อซื้อวัตถุดิบกับบริษัทดังกล่าว และจัดทำเอกสาร/หลักฐานปลอมขึ้นมา ทั้งที่ในความเป็นจริงไม่ได้มีการซื้อขายสินค้ากันจริง เป็นต้นค่ะด้วยผลกระทบจากการไซฟ่อนที่เป็นผลเสียต่อตลาดทุนโดยรวม และถือเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นนั้น ช่วง 5 -6 ปีที่ผ่านมา ก.ล.ต. จึงได้ดำเนินมาตรการเข้มในเรื่องนี้มาโดยตลอดค่ะ หากกรณีที่พบการกระทำผิด ก็ได้มีการกล่าวโทษผู้บริหารในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบในกิจการนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังได้วางมาตรการในเรื่องของการป้องกันควบคู่กันไป ด้วยการเข้าไปติดตามดูข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด ซึ่งแหล่งข้อมูลที่จะช่วยชี้นำได้ว่า บริษัทอาจเริ่มมีความไม่ชอบมาพากลในเรื่องของการไซฟ่อน ก็คือข้อมูลงบการเงิน และการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันค่ะ เนื่องจากที่ใดที่พบการไซฟ่อน ก็มักจะพบเรื่องของการตกแต่งงบการเงินด้วย ซึ่งดิฉันจะมีคำแนะนำเพื่อสังเกตพิรุธเรื่องนี้มาฝากกันในครั้งต่อไปค่ะ

***บทความนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับตลาดทุนแก่สาธารณชนเท่านั้น ในการจะนำข้อมูลไปอ้างอิง ควรตรวจสอบความถูกต้องและเป็นปัจจุบันของกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องด้วย***

เกณฑ์ cash balance

Posted: กันยายน 27, 2010 in investment

Turnover List คืออะไร
Turnover List คือตารางแสดงรายชื่อของหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายหมุนเวียนอยู่ในระดับสูง
ซึ่งอาจนำไปสู่การซื้อขายที่ผิดปกติได้ ที่สับสนที่สุดคือ Turnover List มีผู้คำนวณ 2 คน
1. คนแรกคือ ก.ล.ต. และคำนวณเป็นรายสัปดาห์ (เผยแพร่ทุกเย็นวันศุกร์) โดยนักลงทุนสามารถดูรายชื่อหลักทรัพย์ที่ติด Turnover List ได้ที่ http://capital.sec.or.th/webapp/turnoverlist/showturnoverlist.php
2. คนที่สองคือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯยึดหลักการคำนวณเหมือนกับทาง ก.ล.ต. แต่อาจจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ การประกาศของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นการประกาศว่าหลักทรัพย์ใดติด Turnover List ผ่านช่องทางข่าวปกติของตลาดหลักทรัพย์ฯ และแจ้งไปยังโบรกเกอร์ทุกแห่งทางอีเมลล์

สำหรับวอร์แรนต์อนุพันธ์ (Derivative Warrants) เกณฑ์ในการติด Turnover List มีดังนี้
(1) %1W-Turnover มากกว่าหรือเท่ากับ 100% (เกณฑ์ ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ) และ
(2) % Premium มากกว่าหรือเท่ากับ 20% (เกณฑ์ ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ) และ
(3) มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์มากกว่า 100 ล้านบาท (เกณฑ์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ )

%1W-Turnover = [(มูลค่าซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์ x 5) / Market Capitalization ของใบสำคัญแสดงสิทธิเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์] x 100
%Premium = [( ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ + [(ราคาใช้สิทธิ – ราคาหุ้นสามัญอ้างอิง) x อัตราการใช้สิทธิ ]) / (ราคาหุ้นสามัญอ้างอิง x อัตราการใช้สิทธิ) ] x 100

ติด Turnover List แล้วไม่ดีตรงไหน
การติด Turnover List ของ ก.ล.ต. แปลว่าหลักทรัพย์นั้นมีโอกาสสูงที่จะติด Turnover List ของตลาดหลักทรัพย์
แต่เมื่อติด Turnover List ของตลาดหลักทรัพย์ฯ นั่นก็แปลว่า โบรกเกอร์ต้องให้ลูกค้าของตนซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ๆ โดยวางเงินสดไว้ล่วงหน้าเต็มจำนวนก่อนการซื้อ (Cash Balance) เท่านั้น
ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ห้ามซื้อขายโดยวางเงินเพียงบางส่วน เช่น
– วางเงิน 15% (Cash 15%) หรือ
– ซื้อขายในบัญชีเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) หรือ บัญชีมาร์จิ้น (Margin)

สรุปคือ เมื่อไรที่หลักทรัพย์ติด Turnover List ของตลาดหลักทรัพย์แล้ว หลักทรัพย์นั้นก็จะเหมือนถูกแตะแบรกไม่ให้มีความร้อนแรงเกินไปโดยการจำกัดให้ต้องวางเงิน 100% ก่อนซื้อ และในอีกมุมหนึ่งก็คือเป็นการเตือนให้นักลงทุนระวังไปพร้อมๆ กันด้วย

จาก http://bit.ly/cA22uI ทั้งดุ้น:)

บทเรียนจาก 2หนุ่ม 2 มุม ตอนที่ 2

Posted: กันยายน 27, 2010 in investment
ป้ายกำกับ:

กระทาชายนายนี้ คือ Philip A.Fisher

วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนเอกของโลกพูดอยู่เสมอว่าวิธีการลงทุนของเขานั้น 70% มาจากเบนจามิน เกรแฮม อีก 30% มาจาก Philip A. Fisher เขาผู้นี้เป็นใคร

• เขาเชี่ยวชาญในการลงทุนในธุรกิจที่เขารู้จักดี ซึ่งมักเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ได้มาจากการวิจัยและพัฒนา ฟิชเชอร์เริ่มใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบนี้ก่อนการเกิดของซิลิคอน วัลเลย์ ถึง 40 ปี
• ฟิชเชอร์ ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัทเท็กซัส อินสทรูเม้นต์ ในปี 1956 นานมากก่อนที่บริษัทนี้จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี 1970 เมื่อเริ่มแรกราคาหุ้นซื้อขายที่ 2.7 เหรียญ และหลังจากนั้นราคาก็ขึ้นไปถึง 200 เหรียญ เพิ่มขึ้น 7,400% โดยที่ไม่เคยจ่ายปันผลเลย เขาได้รับผลตอบแทนที่สูงมากจากการลงทุนในบริษัทนี้ โดยถือหุ้นไว้ไม่ได้ขายตลอดเวลากว่า 20 ปี
• * สิ่งที่Fisherมองเห็นจากการที่ตลาดหุ้นตกต่ำอย่างมากช่วงGreat Depressionคือ 1.นักลงทุนที่มีเงินเหลือน่าจะไม่พอใจกับโบรกเดิม 2.ท่ามกลางสภาวะเศรษกิจตกต่ำ นักธุรกิจมีเวลามากมายที่จะนั่งคุยกับFisher
• * เขาเชื่อว่ามีบริษัท2แบบที่ทศวรรษแล้วทศวรรษเล่าสามารถสร้างการเจริญเติบโตเหนือค่าเฉลี่ยได้คือ 1.บริษัทที่โชคดีและมีความสามารถ 2.บริษัทที่โชคดี“เพราะ”มีความสามารถ
• เขาเชื่อว่าFisherคือ(basicมั่กๆ)ความสำเร็จของการลงทุนขึ้นอยู่กับการหาบริษัทที่สามารถเติบโตเหนืออัตราเฉลี่ยอย่างยั่งยืน ในทั้งยอดขายและกำไรในช่วงเวลาหลายๆปีข้างหน้า ผลการดำเนินงานในระยะสั้นเป็นสิ่งที่ลวงตา

จาก the Essential Buffett  (กล่อง)ดวงใจของปู่บัฟฯ บท: บทเรียนจากนักปราชญ์3คนของวงการเงิน

และ http://bit.ly/9LBn29

 


2 หนุ่มที่ว่า ที่มาคือเป็นปราชญ์ที่ปู่บัฟเฟตยกย่องและมีอิทธิพลต่อstlyeการลงทุนของปู่บัฟฯในปัจจุบัน

หนุ่มใหญ่กว่า(ตอนนี้ไม่รู้กลับมาเกิดเป็นหนุ่มน้อยอ๊ะยัง)คือ Benjamin Graham

  • เป็นผู้เขียนตำราที่มีอิทธิพลต่อนักวิเคราะห์หุ้นทั่วโลก 2 เล่ม คือ Security Analysis(ที่พระเอกหนังเรื่อง the pursuit of happinessถือ) และ The Intelligent Investor(บัฟเฟตและนิตยสารฟอร์จูนยกย่องว่าเป็นหนังสือการลงทุนที่ดีที่สุดของโลก)
  • เคยจนถึงขั้นครอบครัวล้มละลายหลังพ่อตายและตัวเขาเองล้มรอบสองช่วงเกิด Great Depression แต่หลักฐานที่บอกว่าเขาเก่งเขาแน่คือจบวิทยาฯไม่มีคอนเนคชั่นหรือความรู้ด้านหุ้นมาก่อน แต่ถีบตัวจากอาชีพเมสเซนเจอร์เงินเดือนสัปดาห์ละ12เหรียญ เพียงห้าปีต่อมาก็มีเงินเดือนปีละ6แสนเหรียญ(ผลตอบแทนทบต้น4.3เท่าต่อปี)
  • เขาอ้างว่าสิ่งที่ทำให้เขาลุกขึ้นยืนได้คือการทบทวนและมองหาโอกาสใหม่ๆ
  • เกรแฮมแนะนำให้ดู3สัญญาณเตือนว่าตลาดหุ้นเสี่ยงถล่มทลาย 1.การปั่นหุ้นโดยนักลงทุนก็ยินดีเข้าไปเล่นด้วย 2.สถาบันการเงินให้เงินกู้อย่างไม่มีข้อจำกัดโดยเฉพาะหลักประกันคือมูลค่าของหุ้นซึ่งหากตลาดถล่มทลายทุกอย่างก็ล้มลงตาม 3.การมองโลกในแง่ดีจนไม่สนใจเหตุผลของฝ่ายทักท้วง สัญญาณ2ข้อแรกนั้นพอจะออกกฎมาดูแลได้ แต่อย่างที่3ตัวใครตัวมันนะพี่น้อง(สำนวนนี้ผมเติมเองครับ อิ อิ)
  • ก่อนเกิดGreat Depressionเพียงปีเดียว ความสยดสยอง(=น่ากลัวมาก:)มิได้อยู่ที่การเก็งกำไรพยายามที่จะปลอมตัวเป็นการลงทุน แต่ตรงกันข้ามคือการลงทุนกลับแปลงโฉมตัวเองเป็นนักเก็งกำไร โดยการซื้อหุ้นจะขาดcommon senseว่าหุ้นราคาแพงไปหรือไม่ กล่าวคือปราศจากเหตุผลทางมูลค่า หุ้นมีราคาเท่าไรก็ได้ ขอแค่ตลาดมองโลกในแง่ดีต่อไปก็พอ(แต่ใครจะไปรู้ล่ะว่าม้าหมุนจะหยุดเมื่อไร:)
  • บริษัทโตเร็วของGrahamคือกำไรเพิ่มจากวัฏจักรก่อนหน้ามาสู่วัฏจักรนี้ key to successของการลงทุนแบบนี้คือ1.ความสามารถในการหาบริษัทอย่างว่า 2.มั่นใจว่าราคาหุ้นยังมิได้สะท้อนศักยภาพการเติบโต
  • keyที่Grahamใช้ประเมินว่าผลตอบแทนจะเป็นเท่าไรคือ 1.ความสม่ำเสมอของกำไร 2.นโยบายปันผล 3.สุขภาพทางการเงิน
  • ปัจจัยด้านคุณภาพ2ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพื่อrefreshสมมติฐานที่ใช้ประเมินมูลค้าหุ้นคือ 1.ความสามารถของการจัดการ 2.ธรรมชาติของธุรกิจ
  • อะไรที่วัดลำบากGrahamให้เหตุผลว่าสามารถวัดผิดได้มาก
  • ความเชื่อของGrahamมาจากสมมติฐานที่ว่า ตลาดตั้งราคาผิดอยู่บ่อยๆซึ่งน่าจะเป็นผลจากอารมณ์โลภและกลัวของมนุษย์

                                                                   จาก the Essential Buffett  (กล่อง)ดวงใจของปู่บัฟฯ บท: บทเรียนจากนักปราชญ์3คนของวงการเงิน

หลักการเดิมพัน

Posted: กันยายน 27, 2010 in investment
ป้ายกำกับ: