Case Study จาก ‘กลโกง สะท้านโลก’

Posted: กรกฎาคม 19, 2011 in investment

ผมขออนุญาตสรุป case study จากหนังสือ ‘กลโกง สะท้านโลก’ เขียนโดย ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล ด้วยสำนวนของผม มาเล่าให้ฟังนะครับ

 

ถ้าไม่อยากถูกฮุบกิจการ พึงระวังอย่าให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง จนเจ้าหนี้ต้องเข้ามาควบคุมการทำงาน ที่สำคัญตรวจสอบสถานะการถือหุ้นอยู่เป็นประจำ

ขอเล่าในรูปแบบ ตามลำดับเวลา จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนไปหลัง (time line) นะครับ..

‘ENRON’ ได้รับการลงคะแนนจาก Fortune ให้เป็นบริษัทที่ล้ำหน้าที่สุด 6 ปีติดและในปี 2000 ถูกจัดให้เป็นบริษัทใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 7 ใน Fortune 500

จากนั้น เดือนธันวาคม 2001 ENRON ก็ได้ยื่นขอความคุ้มครองจากศาลในฐานะเป็นบริษัทที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวที่ใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์อเมริกา

ผู้บริหารระดับสูงของ ENRON บริหารธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ ‘ลดทรัพย์สิน (Asset Light)’ โดยกระจายทรัพย์สินไปในบริษัทลูก เพื่อให้กู้เงินเพิ่มได้

ความสำเร็จกลยุทธ์ ‘Asset Light’ ขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบริษัท โดย ENRONตั้งบริษัทในเครือขึ้นมามากมาย และมีการโยกย้ายทรัพย์สินออกไปนอกบัญชี

ความที่บริษัทมีหนี้เพิ่มขึ้นมาก ผู้บริหารระดับสูงจึงได้สร้างบริษัทในเครือเพิ่มขึ้นและซับซ้อนขึ้น

เพื่อกระจายภาระหนี้ออกไป และทำให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ดูมากมายผ่านการนับซ้ำหลายครั้ง

ในปี 2000 ธุรกิจเติบโตเป็นทวีคูณ ราคาหุ้นขึ้นสูงถึงหุ้นละ 90 $ ปีเดียวกันรายได้ของ ENRON ลดลงอย่างมาก

ต่อมา ENRON ได้ยื่นเรื่องกับกลต.USA ว่าจะแก้ไขบัญชีงบการเงินของบริษัท ในเดือนนั้นมีบริษัทตกลงที่จะซื้อ ENRON ในราคาหนึ่งหมื่นล้าน$

แต่ก็ยกเลิกไป เพราะหลังตรวจสอบสถานะแล้ว พบหนี้และตัวเลขทางบัญชีที่ไม่แน่นอนอีกมหาศาล ราคาหุ้นจึงลดฮวบเหลือหุ้นละ 1 $

case ENRON จบด้วยหุ้นดิ่งจาก 90 เหลือ 1 $ เข้าสู่กระบวนการล้มละลายท้ายที่สุด

                                     o(^▽^)o <<  จบ case แรก ครับ

 

case 2 ‘ ปิคนิค ‘ ย้อนตำนานเอ็นรอน

จากการลงทุน และกระจายทรัพย์สินของปิคนิค ทำให้นึกถึงทฤษฎี Asset Light ของเอ็นรอน ที่กระจายทรัพย์สินไปบ.ในเครือ ขณะหนี้สินก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

กลต.กล่าวโทษผู้บริหารว่าทำผิด 2 กรณี 1ตกแต่งบัญชี ให้มีกำไรเพิ่ม และซื้อก๊าซจากโรงบรรจุก๊าซ 10 แห่ง ที่มีความสัมพันธ์กับปิคนิค ในราคาแพงเว่อร์

2ร่วมลงนามกู้ยืมเงิน 460 ล้านบาท แล้วมีเงิน 85 ล้านบาทเข้าบัญชีส่วนตัวของผู้บริหาร เข้าข่ายยอกทรัพย์

จากการสอบทานข้อมูลทางการเงิน พบว่าแผนกบัญชีของกลุ่มบริษัทโรงบรรจุก๊าซทั้ง 10 แห่ง อยู่ที่บ้านผู้ถือหุ้นหลัก!! และไม่เคยมีการกระทบยอดเลย

บริษัทโรงบรรจุก๊าซยังนำถังก๊าซไปให้ลูกค้ายืม โดยไม่มีการเก็บเงินมัดจำ นอกจากนั้น ยังไม่สามารถยืนยันจากลูกค้าว่ามีตัวตนอยู่จริงได้

ผู้สอบบัญชีตั้งข้อสังเกตว่า มีการสั่งการให้บริษัทในเครือทำธุรกรรมที่จะมีผลในการสร้างกำไรให้แก่ปิคนิค

                                                          ヘ(^_^ヘ)    (ノ^_^)ノ

 

case 3 ‘เอกธนกิจ’ บทเรียนกลเกมการเงิน

เมื่อมองย้อนกลับไปชวนให้สงสัยว่า เหตุใดจึงไม่มีใครสงสัยว่าตัวเลขกำไรของบริษัทที่สูงลิ่ว มีแหล่งที่มาอย่างไร

 ไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์ ผู้กำกับดูแล จนกระทั่งปัญหาบานปลายสายเกินแก้

บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ เริ่มต้นจากบริษัทเงินทุนขนาดเล็กมีทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาทในปี 2524

ได้มีการขยายกิจการอย่างรวดเร็ว โดยระดมทุนจากผู้ถือหุ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นKBANK กลุ่มCP และBNP paribas

จนกระทั่งปี 2537 บริษัทมีทุนจดทะเบียนสูงถึง 5,400 ล้านบาท กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจคือ การสร้างภาพว่าเป็น Investment Banker มืออาชีพ

ที่เก่งด้านซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาต่ำกว่าจริง เพื่อนำมาฟื้นฟู แล้วขายในราคาที่มีกำไร

เอกธนกิจได้เข้าซื้อบริษัทผลิตยางยืด และเปลี่ยนบ.ดังกล่าวให้เป็นบริษัทโฮลดิ้ง ที่จะเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจทุกประเภทได้

บ.โฮลดิ้งกลายเป็นช่องทางของบริษัทในเครือในการถ่ายเทกำไร และปล่อยเงินกู้ระหว่างธุรกิจในเครือด้วยกันเอง

อาณาจักรธุรกิจของกลุ่มเอกธนกิจเริ่มสั่นคลอน เมื่อเศรษฐกิจเริ่มถดถอยช่วงปลายปี2539 โดยNPLในธุรกิจเช่าซื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ขณะราคาสินทรัพย์ที่ถือก็ดิ่งตามดัชนีหลักทรัพย์ ซ้ำเติมด้วยรายได้จากค่า brokerage fee ก็หดตัวอย่างรวดเร็ว

บริษัทประสบภาวะขาดสภาพคล่องและขาดทุนสูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท ทรุดหนักยิ่งขึ้นเมื่อรัฐลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้หนี้ตปท.เพิ่ม

ธนาคารแห่งประเทศไทยปฏิเสธที่จะอัดฉีดเงินเพิ่ม หลังจากให้ไปแล้ว4หมื่นล้านบาท

ปี39ผู้ฝากเงินแห่กันถอนเงินหลังข่าวลือบริษัทจะล้ม ทำให้หนี้รวมเพิ่มขึ้นเป็น8หมื่นล้านบาท

ในที่สุดบริษัทก็ถูกปิดกิจการ หลังแผนระดมทุนล้มเหลว ** ก็จะไม่ให้ล้มเหลวได้ไง งานนี้กรรมการและผู้บริหารเล่นทิ้งหุ้นตั้งแต่ก่อนประกาศเพิ่มทุน

แสดงให้เห็นว่าคนวงในเองก็ขาดความเชื่อมั่นในบริษัทเงินทุนเอกธนกิจ และยังมีกรรมการและผู้บริหารบางรายถูกปรับข้อหา insider trading ด้วย

นี่คือจุดเริ่มต้นของการสั่งปิดบริษัทเงินทุน 56 แห่ง ในปี 41 ยังปิดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อีก 7 แห่ง

                                                  (╭ ̄3 ̄)╭♡(・ε・)ノ  (◍′◡‵◍)

 

case 4 ‘ Worldcom ‘

เคสนี้คล้ายกะ Enron มีประเด็นน่าสนตรง สัญญาณเตือนภัย ที่นักลงทุนควรอ่านให้ออก..

พอผู้สอบบัญชีตรวจพบว่า มีการบันทึกบัญชีผิด จาก’ค่าใช้จ่าย’ ดันไปบันทึกเป็น ‘เงินลงทุน’

ก็ได้แจ้งให้กรรมการตรวจสอบของบริษัททราบ และชี้แจงว่างบการเงินในปี 2001 นั้น อาจเชื่อถือไม่ได้

**ผลที่ได้รับคือ บริษัทเปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่ทันที !!

              ┌(^_^)┘♪└(^_^)┐ ( ‘⌣’)人(‘⌣’ )

 

case สุดท้าย พูดถึงการซื้อกระดาษ และ ฝันสลายของวัยเกษียณ (ออกแนวโหดร้าย).. ‘เอควิเทเบิ้ล ไลฟ์ ประกันชีวิต’

‘ความหายนะที่ผู้เอาประกันจำนวนมากต้องประสบ เกิดจากกรมธรรม์ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อดังดูดให้ลูกค้าสนใจซื้อ

โดยไม่คำนึงว่ามีเงินทุนเพียงพอจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้เอาประกันหรือไม่ ‘

อควิเทเบิ้ล ไลฟ์ เคยเป็นบริษัทประกันชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุกว่า 240 ปี

ต่อมาผู้บริหารได้ออกกรมธรรม์แบบใหม่โดยสัญญากับผู้เอาประกันจำนวนมาก ว่าจะจ่ายเงินปันผลในจำนวนที่สูงเกินไป

หลังจากปลายยุคปี80 บริษัทยอมรับกับผู้เอาประกันว่า บริษัทมีหนี้สินต่อผู้เอาประกันสูงกว่าสินทรัพย์ของบริษัทถึงกว่า3พันล้านปอนด์

และก่อนปี2001 เพิ่มสูงขึ้นถึง 4 พันล้านปอนด์ ทำให้บริษัทเกือบล้มละลายเนื่องจากไม่สามารถจ่ายเงินให้ผู้ถือเอาประกันได้

ผู้ถือกรมธรรม์ต้องพบกับสภาพที่กรมธรรม์ของตนเองมีมูลค่าลดลงมากที่สุดถึง 40%

* โดยบริษัทเอควิเทเบิ้ล ไลฟ์ได้กล่าวโทษ Ernst & Young ว่าออกงบการเงินโดยไม่เตือนถึงปัญหาที่นำไปสู่การล้มละลาย

ทางฝั่ง Ernst & Young โต้กลับว่า ไม่สามารถรายงานต่อบริษัทในสิ่งที่ผู้สอบบัญชีเองไม่รู้มาก่อน

และ ไม่มีข้อมูลใดๆที่เรารู้ แต่คณะกรรมการไม่รู้มาก่อน

เคสนี้น่าส่งสารมากเพราะความเสียหายเกิดกับผู้เกษียณอายุ และค่าเสียหายที่เรียกร้องนั้น

เป็นจำนวนสูงสุดที่เคยมีการเรียกร้องต่อบุคคลหรือผู้ตรวจสอบบัญชี ในประวัติศาสตร์ประเทศอังกฤษ

                                                   – จบแว้ว –

การแสดงความเห็นถูกปิด